บุรีรัมย์

ผ้าภูอัคนี ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์

วัตถุดิบ

1. ดินจากภูเขาไฟที่มีสีแดง น้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม

2. เส้นไหมหรือเส้นฝ้าย

3. เปลือกประดู่

4. น้ำสะอาด

ขั้นตอนการย้อมผ้าภูอัคนี

1. เริ่มจากนำดินจากเขาพระอังคารมาร่อนทำความสะอาด จากนั้นเก็บเศษวัสดุสิ่งเจือปนออก แล้วนำมาผสมกับน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝน และทำการขยำละลายน้ำในกะละมังพร้อมกรองเศษดินหลังจากนั้นนำไปผสมน้ำในอัตราส่วนดินภูเขาไฟ 3 กิโลกรัม ต่อน้ำเปล่า 10 ลิตร ก็จะได้น้ำดินภูเขาไฟที่มีสีน้ำตาล

2. นำเส้นไหม หรือเส้นฝ้าย ที่ต้องการย้อมสีและใช้ผ้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัมในการย้อมแต่ละครั้ง นำผ้าลงไปแช่ในน้ำดินภูเขาไฟที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง จากนั้นนำเส้นไหม หรือเส้นฝ้ายไปล้างด้วยน้ำที่สะอาด ก็จะได้ผ้าสีน้ำตาลเย็นตา สีสันสวยงามตามที่ต้องการ

3. หลังจากนั้นนำผ้าที่ได้ไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปสลัด ตากและยืดให้ตรงกับราวไม้

4. นำเปลือกต้นประดู่มาต้มในน้ำซึ่งน้ำต้มจะต้องร้อนแต่ไม่ให้เดือดจนเกินไป หลังจากนั้นนำผ้าที่ต้องการย้อมลงไปแช่ประมาณครึ่งชั่วโมง ขั้นตอนนี้จะเป็นการป้องกันการตกสี อีกทั้งในน้ำเปลือกต้นประดู่ก็ยังมียางและสีที่คล้ายสีดินภูเขาไฟจึงเป็นการเคลือบสีลงไปในตัวผ้า เนื้อผ้าที่ได้จึงเงางามยิ่งขึ้นและไม่ตกสี หากอยากได้สีเพิ่มเติมให้นำสนิมจากสังกะสีมาต้มในน้ำเดือดให้น้ำเปลี่ยนสี จากนั้นนำเส้นไหมหรือเส้นด้ายลงไปแช่ก็จะได้อีกหนึ่งสีเกิดขึ้น

5. หลังจากที่แช่ด้วยน้ำประดู่แล้วนำเส้นไหมขึ้นมาจากน้ำประดู่แล้วปั้นน้ำออก และนำเส้นไหมไปตากหรือผึ่งในร่มจนแห้งสนิทแล้วนำไปเก็บเพื่อรอการถักทอ

6. นำเส้นไหม หรือเส้นฝ้ายไปทอเป็นผืนและแปรรูปตามที่ต้องการ เช่น ผ้าพันคอ เสื้อสำเร็จรูป กระเป๋า ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น

ผ้าภูอัคนี ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์



การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ

วัตถุดิบ

1. เส้นไหมหรือเส้นฝ้าย

2. สารช่วยย้อม

3. ใบสบู่เลือด

4. ใบยูคาลิปตัส

5. ใบขี้เหล็ก

6. เปลือกสะเดาและเปลือกประดู่

7. น้ำสะอาด

ขั้นตอนการย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ

1. การเตรียมไจไหมหรือ เข็ดหรือไจ หมายถึง  เส้นไหมที่ได้จากการกรอแบบสานยาวติดต่อกันรวมเป็นวง เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน ในระหว่างการลอกกาว ควรเลือกเส้นไหมที่เป็นแบบเดียวกัน ขนาดเส้นและวงเข็ดเท่ากัน ควรมัดพลองอย่างน้อย 4 ช่วง และเหลือปลายเส้นด้ายที่มัดไว้ให้ยาวเกินกว่าความกว้างของเข็ดไหม 1 คืบหรือ 8 เซนติเมตร เพื่อให้เส้นไหมกระจายตัวและไม่พ้นกัน

2. การฟอกกาว ด้วยด่างสารธรรมชาติ กาวหรือการลอกกาวของเส้นไหม เป็นการการฟอกนำเส้นไหมมาฟอกต้มเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก โดยต้องคำนึงถึงเรื่องระยะเวลาในการต้มฟอกกาวและขนาดของเข็ดเส้นไหมการเตรียมน้ำด่าง อัดขี้เถ้าลงในถังพลาสติกที่เจาะรูก้นถัง แล้ววางซ้อนบนถังอีกใบ เพื่อรองเอาน้ำขี้เถ้าแช่ไหมดิบในน้ำด่าง (ไม่ต้องตั้งไฟ) ประมาณ 1 ชม.ต้มน้ำให้เดือดเทใส่ภาชนะ จุ่มเส้นไหมจากข้อ1 ให้ทั่ว กาวจะลอกออกมาสังเกตได้จากเส้นไหมจะกลายเป็นสีครีม (สีมันปู) นำเส้นไหมที่กาวลอกออกแล้วมาล้างในน้ำอุ่น 1-2 ครั้ง และล้างน้ำสะอาดอีก 3-4 ครั้ง บิดให้พอหมาด กระตุกให้เรียงเส้น ผึ่งตากในที่ร่มให้แห้ง

3. เมื่อไหมตากแห้งแล้วจึงนำไป "โอบหมี่" คือการใช้เชือกฟางเล็ก ๆ พันลำหมี่ตรงส่วนที่ยังไม่ถูกมัดหมี่ตามแบบลายมัดหมี่ การโอบ (พัน) ต้องโอบ (พัน) ให้เชือกฟางแน่นที่สุดและหลาย ๆ รอบ นำหมี่ที่โอบหมี่เรียบร้อย แล้วไปล้างสีออกในน้ำเดือด (จะล้างออกเฉพาะบริเวณที่ไม่ถูกมัดหรือโอบเท่านั้น) โดยเติม "ด่างเหม็น" (ผงด่างที่มีกลิ่นเหม็น) หมี่ส่วนที่โอบหรือมัดไว้ จะคงสีตามเดิมส่วนที่ไม่ถูกโอบหรือมัดจะถูกล้างออกเป็นสีขาว นำไปย้อมเป็นสีอื่นอีกครั้งหนึ่งตามต้องการ บางสีเมื่อย้อมและนำไปโอบ (พัน) เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องนำไปล้างออก

4. การสกัดสีธรรมชาติ เพื่อนำน้ำที่สกัดได้นำไปย้อมเส้นไหมที่ลอกกาวแล้ว- การสกัดสีจากเปลือกไม้ โดยการสับเปลือกไม้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่น้ำ 1 คืน แล้วนำมาต้มเคี่ยว 1-2 ชั่วโมง กรองกากทิ้ง

 - การสกัดสีจากใบ : นึ่งใบด้วยไอน้ำ 5-10 นาที แล้วแช่น้ำเย็น 10-15 นาที จากนั้นต้มด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 ชั่วโมง

5. การย้อมเส้นไหม ด้วยวิธีแช่ และนวดเส้นไหมเบา ๆ ในน้ำย้อม ที่อุณหภูมิปกติจนได้สีที่ต้องการ เรียก "ย้อมเย็น" หรือย้อมที่อุณหภูมิ 80-85 องศาเซลเซียส นาน 60 นาที เรียก "ย้อมร้อน" ระหว่างย้อมให้พลิกกลับเส้นไหมบ่อย ๆ เพื่อให้เส้นไหมติดสีสม่ำเสมอ อาจย้อมเย็นก่อนแล้วย้อมร้อนต่อจนครบเวลา 60 นาที จึงนำเส้นไหมขึ้นและล้างในน้ำอุ่น 1-2 ครั้ง จากนั้นล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่มีสี กลิ่น แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจนหมดฟอง ขั้นตอนสุดท้ายบีบน้ำออกให้เส้นไหมหมาดกระตุกให้เรียงเส้น และผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ปกติการย้อมไหม 1 กิโลกรัมแบบย้อมเย็น จะใช้น้ำย้อม 20-25 ลิตร ส่วนการย้อมร้อนใช้ 30 ลิตร

การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ