กรณีที่ข้าราชการถูกกลั่นแกล้งจากหัวหน้างาน ไม่ยอมเซ็นประเมินผลงานให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงขึ้น โดยอ้างว่าผลงานที่เคยทำไม่เข้มพอที่จะส่งประเมินได้ กรณีนี้ ข้าราชการผู้นั้นควรทำอย่างไร เนื่องจากการกระทำของหัวหน้างานดังกล่าว ทำให้ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานเสียสิทธิอันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร และจริง ๆ ใครจะเป็นผู้ตัดสินว่างานที่ประเมินนั้นเข้มพอหรือไม่
ในระบบการประเมินจะต้องเสนอผ่านผู้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจในการพิจารณาผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ แต่ถ้าหากผู้ถูกประเมินเห็นว่าเป็นการประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร ก็อาจใช้สิทธิร้องทุกข์ เพราะเหตุคับข้องใจได้ตามนัยมาตรา 130 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกฎ ก.พ. ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2543) ว่าด้วยกรณีที่อาจร้องทุกข์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ขอให้แก้ไขความคับข้องใจ โดยจะต้องร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณี เช่น ถ้าเหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชาในราชการบริหาร ส่วนกลางที่ต่ำกว่าอธิบดี ให้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. ดังกล่าวจะเป็นผู้พิจารณา เป็นต้น นอกจากนั้นอาจร้องทุกข์ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2540) ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ขอให้แก้ไขการปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ด้วย หากเป็นกรณีที่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดใน กฎ ก.พ.
คำถามที่เกี่ยวข้อง | Action |
---|---|
การนับระยะเวลาว่าพนักงานราชการปฏิบัติงานต่อเนื่องมาครบ 1 ปี เพื่อมีสิทธิสะสมวันลาพักผ่อน มีวิธีการนับอย่างไร | เรียกดูข้อมูล |
วันลาพักผ่อนของพนักงานราชการสะสมได้หรือไม่ | เรียกดูข้อมูล |
เมื่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นได้รับเรื่องร้องเรียนหรือตรวจพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชากระทําผิดวินัยจะต้อง ดําเนินการอย่างไร | เรียกดูข้อมูล |
การพิจารณาดําเนินการในกรณที่มีการร้องเรียนกล่าวหามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง | เรียกดูข้อมูล |
เมื่อข้าราชการถูกล้างมลทิน ยังถือว่าเคยกระทําผิดวินัยอยู่หรือไม่ และ การล้างมลทินก่อให้เกิดสิทธิใดแก่ข้าราชการที่ได้รับการล้างมลทินบ้าง และข้าราชการนั้น จะมีสิทธิขอรับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาได้หรือไม่ | เรียกดูข้อมูล |