รับงานไปทำที่บ้าน RSS

 

รับงานไปทำที่บ้าน

การรับงานไปทำที่บ้าน

การจ้างงานด้วยวิธีการให้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นการจ้างงานนอกระบบที่มีมานานมีลักษณะเป็นงานหัตถกรรมครัวเรือน หรืองานที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการผลิตหรือผลิตทั้งหมด

ในอดีตการรับงานไปทำที่บ้านเป็นเพียงอาชีพเสริม แต่ในปัจจุบันการรับงานไปทำที่บ้านได้กลายมาเป็นอาชีพหลักของครอบครัว

ในปัจจุบันการรับงานไปทำที่บ้านที่อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท มีลักษณะการทำงานเป็นระบบมากขึ้น จำนวนผู้รับงานก็มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะภายหลังที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเมื่อกลางปี 2540 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตหลายประเภทจำเป็นต้องปรับโครง สร้างการผลิตใหม่ โดยการปรับลดขนาดกิจการลง ส่งผลให้มีสถานประกอบการขนาดเล็กเพิ่มขึ้น และพบว่าสถานประกอบการขนาดเล็กจะมีการรับช่วง การผลิตมาทำเป็นทอดๆ มีการกระจายการผลิตสู่การใช้แรงงานตามหมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ “ระบบการรับงานไปทำที่บ้าน” ที่โตขึ้น


ความหมายของการรับงานไปทำที่บ้าน

งานที่รับไปทำที่บ้าน หมายความว่า งานที่ลูกจ้างรับจากนายจ้างไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมหรือแปรรูปสิ่งของในบ้านของลูกจ้าง หรือสถานที่อื่น ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของนายจ้างตามที่ได้ตกลงกัน
เพื่อรับค่าจ้าง โดยใช้วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตของนายจ้างทั้งหมดหรือบางส่วน และโดยปกติ
การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบ
ของนายจ้าง

ลักษณะและประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน

ลักษณะของการรับงานไปทำที่บ้าน เป็นงานที่ไม่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการ ผลิตหรือผลิตทั้งหมด ลักษณะงานที่ส่งให้ทำเป็นงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย เป็นงานที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มักใช้แรงงานคนทำการผลิตมากกว่าใช้ เครื่องจักร สำหรับประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน มีทั้งประเภทงานที่ผลิตหรือประกอบขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก เช่น การทำกระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ซองโทรศัพท์มือถือ ประกอบไฟแช็ค วิกผม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกไม้ประดิษฐ์ เจียระไนพลอย แหวน และประกอบเครื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น

ประเภทงานที่จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทที่ 1 ตัดเย็บ (เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าห้ม พรมเช็ดเท้า เสื้อผ้าตุ๊กตา เป็นต้น)
  2. ประเภทที่ 2 งานปัก ถัก ทอ (ถักวิกผล ทอผ้า ทอเสื่อ ปักผ้าคลุม ปักเลื่อม เป็นต้น)
  3. ประเภทที่ 3 งานประดิษฐ์ (ดอกไม้ประดิษฐ์ ตุ๊กตา เครื่องประดับ ร้อยลูกปัด เป็นต้น)
  4. ประเภทที่ 4 งานหัตถกรรม (จักสานต่าง ๆ ทำไม้กวาด เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น)
  5. ประเภทที่ 5 อุปโภค/บริโภค
  6. ประเภทที่ 6 ของใช้อื่น ๆ 

การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน

ดำเนินการภายใต้ระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยการส่งเสริมการมีงานทำ พ.ศ. 2560 ข้อ 5 จัดหางานจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ มีหน้าที่จดทะเบียนผุ้รับงานไปทำที่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้คำปรึกษา แนะนำ ส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านให้มีการบริหารจัดการที่มีความเข้มแข็งและมั่นคงอย่างต่อเนื่อง

การส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน

เพื่อให้การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน กว้างขวางและครอบคลุม
ทุกจังหวัด กรมการจัดหางานจึงได้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้านขึ้น ณ สำนักจัดหางานกรุงเทพทุกแห่ง และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาจดทะเบียน
จัดตั้งกลุ่ม ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านต่อผู้รับงานไปทำที่บ้านและ กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงาน และพัฒนาทักษะ ฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน

การจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน

การจดทะเบียนกลุ่ม เป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านประการหนึ่งที่เสริมสร้างการรวมกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เข้มแข็ง สร้างความมั่นคง ในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อประโยชน์ในการรับงานไปทำที่บ้าน และสะดวกต่อการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ทักษะ ฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยให้ผู้นำกลุ่มยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักจัดหางานกรุงเทพในพื้นที่ ที่กลุ่มตั้งอยู่ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน

กรณีผูู้รับงานไปทำที่บ้าน

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. มีสถานที่ที่รับงานไปทำที่บ้านเป็นหลักแหล่ง

กรณีผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นกลุ่มบุคคล

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 คน (มีผู้นำกลุ่ม)
  4. สมาชิกต้องไม่เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านอื่น
  5. มีสถานที่ที่รับงานไปทำที่บ้านเป็นหลักแหล่ง

หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียน

กรณีบุคคล

  1. แบบคำขอจดทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้าน (แบบ ท.รบ.1) 
  2. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
  3. แผนที่แสดงที่อยู่และแผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ที่รับงานไปทำที่บ้าน
  4. เอกสารที่แสดงว่ามีการรับงานไปทำที่บ้าน

กรณีกลุ่มบุคคล 

  1. แบบคำขอจดทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้าน (แบบ ท.รบ.2) 
  2. รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
  3. บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของสมาชิกกลุ่ม
  4. แผนที่แสดงที่อยู๋และแผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ที่รับงานไปทำที่บ้าน
  5. เอกสารที่แสดงว่ามีการรับงานไปทำที่บ้าน

กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

เป็นทุนหมุนเวียนเพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ยืมเงินไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิต หรือขยานการผลิตเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน ดำเนินการภายใต้ระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2559 บริหารงานโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

วัตถุประสงค์

  • กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมีวัตถุประสงต์เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบ
    และอุปกรณ์ในการผลิตหรือขยายการผลิตเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่
    บ้าน

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้กู้เงินและการชำระหนี้เงินกู้

คุณสมบัติของผู้กู้

กรณีผู้กู้เป็นรายบุคคล

  1. เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านที่จดทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  2. มีผลการดำเนินการ และมีรายได้จากการรับงานไปทำที่บ้าน หรือมีหลักฐานการรับงานไปทำที่บ้านจากผู้จ้างงาน
  3. มีทรัพย์สินหรือเงินทุนไม่น้อยกว่า 5,000 บาท
  4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  5. ไม่เคยเป็นผู้ถูกดำเนินคดีหรืออยู่ระหว่างดำเนินคดีเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนฯ

กรณีผู้กู้เป็นกลุ่มบุคคล

  1. เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านที่จดทะเบียน (กลุ่มบุคคล) กับกรมการจัดหางาน
  2. ต้องมีผู้นำกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มกู้ร่วมกันไม่น้อยกว่า 5 คน
  3. มีผลการดำเนินการ และมีรายได้จากการรับงานไปทำที่บ้าน หรือมีหลักฐานการรับงานไปทำที่บ้านจากผู้จ้างงาน
  4. มีทรัพย์สินหรือเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มรวมกัน ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท
  5. ไม่เคยเป็นผู้ถูกดำเนินคดีหรืออยู่ระหว่างดำเนินคดีเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกองทุนฯ

กรณีผู้กู้รายบุคคลจะต้องจัดให้มีผู้ค้ำประกันซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  1. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ และ
  2. เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัทเป็นผู้บริหาร
    หรือสมาชิกองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ปกครองท้องที่ระดับกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน
  3. พนักงานบริษัทซึ่งมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า เดือนละ 15,000 บาท 
  4. วงเงินกู้ไม่เกิน 20,000 บาทให้มีผู้ค้ำประกัน 1 คน 
  5. วงเงินกู้ตั้งแต่ 20,001 - 50,000 บาท ให้มีคนค้ำประกัน 2 คน

กรณีผู้กู้เป็นกลุ่มบุคคลต้องมีผู้กู้ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มและสมาชิกกลุ่มรวมกันจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นผู้กู้ร่วมกัน

วงเงินให้กู้ยืมและระยะเวลาการชำระหนี้

กรณีบุคคล

1 - 50,000 บาท ชำระคืนภายใน 2 ปี 

กลุ่มบุคคล

1 - 50,000 บาท ชำระคืนภายใน 2 ปี 

50,001 - 100,000 ชำระคืนภายใน 4 ปี 

100,001 - 300,000 ชำระคืนภายใน 5 ปี 


อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี  ผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 2 ปี 

ระยะเวลาปลอดชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 4 งวด ตั้งแต่งวดที่ 1- 


เอกสารประกอบการกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน 

  1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้ของผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน
    และคู่สมรสแล้วแต่กรณี (กรณีบุคคล)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานรัฐออกให้ของผู้กู้และผู้สมรส  (กรณีกลุ่มบุคคล)
  3. ทะเบียนบ้านของผู้กู้ และคู่สมรส
  4. โครงการที่ขอกู็ยืมเงิน และรายละเอียดการประกอบกิจการของผู้กู้
  5. หลักฐษนการจดทะเบียนเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน
  6. หนังสือยินยอมของคู่สมรส หรือหน้ังสือมอบอำนาจของสมาชิกกลุ่ม (ถ้ามี)

สถานที่ที่สามารถใช้บริการ หรือติดต่อสอบถาม

  • สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
  • สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10  (ทั้ง 10 แห่ง)
  • หรือติดต่อสอบถามได้ที่กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
    โทร. 0-2245-1317  สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.doe.go.th/prd/hwfund
  • www.vgnew-epd.com.