ภารกิจของหน่วยงาน

ภารกิจของสำนักงานจัดหางานจังหวัดลพบุรี

มีภารกิจให้บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ บริการข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ ที่เหมาสมกับความรู้ ความสามารถ และความถนัด มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ อีกทั้งคุ้มครองคนหางานไม่ให้ถูกลอกลวง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาสมและเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อสร้างคุณภาพชีวิติที่ดีแก่ประชาชนคนหางาน

การบริการจัดหางานในประเทศ

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนวัยทำงานได้มีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสมรับรู้ข่าวสารตลาดแรงงาน ลดปัญหาการว่างงาน และการขาดแคลนแรงงาน

การดำเนินงาน

  1. ให้บริการจัดหางาน รับสมัครงาน บรรจุงาน หาตำแหน่งงานว่าง
  2. บริการจัดหางานเคลื่อนที่โดยเจ้าหน้าที่จัดเตรียมตำแหน่งงานว่างออกไปรับสมัครในชุมชนหรือสถานที่ต่างๆ
  3. จัดงานวันนัดพบแรงงานเพื่อให้คนหางานและนายจ้างหลายๆรายที่ต้องการคนงานได้มาพบกันโดยตรงเพื่อการสัมภาษณ์และการบรรจุงาน
  4. ประสานงานการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบเพื่อเคลื่อนย้ายแรงงานครั้งละจำนวนมากจากจังหวัดหนึ่งที่ไม่มีตำแหน่งงานไปให้นายจ้างในอีกจังหวัดหนึ่งที่มีตำแหน่งงาน
  5. จัดหางานพิเศษเป็นการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้แก่ นักเรียนนักศึกษา คนพิการ ชาวเขา ผู้พ้นโทษผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการบำบัดยาเสพติด ผู้ประสบสาธารณภัยทหารกองประจำการที่ปลดเป็นกองหนุน เยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนผู้ถูกเลิกจ้าง เป็นต้น
  6. บริการจัดหางานทาง Internet โดยผู้สมัครงานสามารถดูตำแหน่งงานของนายจ้างและสถานประกอบการ และสมัครงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ทของศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย

การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ

เพื่อกำกับดูแลการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อให้แรงงานไทยได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมมีสภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงานที่เหมาะสม

การดำเนินงาน

  1. พิจารณาคำขออนุญาตพาลูกจ้างไปทำงานหรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ
  2. รับแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเอง
  3. รับแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศของคนหางานที่เดินทางกลับประเทศไทยเป็นการชั่วคราว
  4. เป็นศูนย์ให้บริการข้อมูลแก่คนหางานที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
  5. รับลงทะเบียนผู้ที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ

การควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว

เพื่อดูแลตรวจสอบและควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย และเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยมากที่สุด รวมถึงการควบคุมแรงงานต่างด้าวที่เข้าประเทศโดยผิดกฎหมายซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว

การดำเนินงาน

  1. พิจารณาออกใบอนุญาตทำงานต่ออายุใบอนุญาตทำงานเปลี่ยนแปลงรายการใบอนุญาตทำงาน ออกใบแทนใบอนุญาตทำงานรับแจ้ง เข้า-ออก จากการทำงาน และการขอเข้ามาดำเนินการขององค์กรเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย
  2. ควบคุมดูแลและตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย

การแนะแนวและส่งเสริมการประกอบอาชีพ

เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและผู้กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานได้มีความรู้ ความเข้าใจและทราบความถนัดในการประกอบอาชีพของแต่ละคน

การดำเนินงาน

  1. ให้บริการแนะแนวอาชีพแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทราบถึงโลกอาชีพ โลกการศึกษา การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนการให้บริการทดสอบความพร้อมทางอาชีพ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกศึกษาต่อ หรือการเลือกประกอบอาชีพให้ตรงกับบุคลิกภาพ ความถนัด ความรู้ความสามารถ และความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งนำไปสู่การมีงานทำอย่างยั่งยืน
  2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ ให้บริการแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ การประสานงานในเรื่องแหล่งฝึกอาชีพ แนะนำเงินทุนภาครัฐและเอกชน เผยแพร่ข้อมูลอาชีพ รวมถึงการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพอิสระและให้ความรู้ด้านการประกอบการ ได้แก่ การบริหารจัดการ การทำบัญชีเบื้องต้น การตลาด การคิดต้นทุนการผลิต กำไรขาดทุน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ว่างงานหรือผู้ที่สนใจสามารถประกอบอาชีพได้
  3. จัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมการมีงานทำ โลกอาชีพ โลกการศึกษา โลกของข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวตามสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
  4. ผลิตและเผยแพร่สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพ ในรูปแบบของแผ่นพับ โปสเตอร์ หนังสือข้อมูลอาชีพ CD/VCD ชุดนิทรรศการรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
  5. ให้บริการศูนย์ข้อมูลอาชีพ โดยเป็นแหล่งสารสนเทศข้อมูลด้านอาชีพต่างๆ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา ศึกษาค้นหว้าหาข้อมูลด้านอาชีพเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหรือเรียนรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเอง รวมทั้งผู้หางานทำ ผู้ต้องการเปลี่ยนงาน และประชาชนทั่วไปใช้ข้อมูลอาชีพดังกล่าวในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
  6. การจดทะเบียนกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยส่งเสริมให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้มีการรวมตัวกัน เพื่อจัดตั้งกลุ่ม ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการรับงานและการผลิต ส่งเสริมพัฒนาความรู้ทักษะฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน และส่งเสริมให้กลุ่มกู้เงินกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อขยายและพัฒนาศักยภาพในการผลิต