เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565
แรงงานชาวลาวทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2
จังหวัดมุกดาหาร โดยใช้รถทัวร์โดยสารสายมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
ซึ่งยังเปิดบริการวันละ 2 เที่ยว แรงงานชาวลาวสามารถเดินทางกลับได้ตามปกติ
กว่า 2 ปีที่ปิดด่านพรมแดนพบว่า มีชาวลาวเดินทางกลับประเทศมากกว่า 4
หมื่นคน
สำหรับความต้องการแรงงานจากต่างประเทศทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอเปิดด่านในวันที่
1 เมษายน
โดยผู้ประกอบการต้องยื่นรายชื่อเพื่อนำเข้าแรงงานในรูปแบบเอ็มโอยูระหว่างรัฐ
ซึ่งแรงงานชาวลาวเชื่อว่า
จะมีแรงงานเดินทางกลับเข้าทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก
นางเพ็ดสมอน อายุ 32 ปี แรงงานชาวลาว บอกว่า
มาทำงานที่สกลนครทำงานเลี้ยงสัตว์ ช่วงนี้โควิดระบาดเยอะ
ก็เลยพากันเดินทางกลับบ้านดีกว่า ทุกคนอยากมาทำงานที่ประเทศไทย
ตอนนี้ยังมาไม่ได้ด่านปิดอยู่
ถ้าด่านเปิดเป็นผลดีของแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทุกคนอยากเข้ามา
พอทำบัตรแล้วก็เข้ามาทำงานไม่ได้ ถ้าเปิดด่านวันที่ 1 เมษายน
แรงงานเข้ามาเยอะเลย บางคนเข้ากรุงเทพไปอยู่กับนายจ้างเก่า
มีหลากหลายอาชีพตามที่ตนเองชอบ ส่วนค่าใช้จ่าย MOU ประมาณ 1,200 บาท
ถ้าต้องการลูกจ้างนายจ้างต้องไปลงทะเบียนที่กรมแรงงาน
และส่งเรื่องไปหาสถานทูตลาวให้สถานทูตติดต่อให้
โดยขั้นตอนกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทย
แรงงานทุกคนต้องแสดงหนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน
และผ่านมาการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม พร้อมแสดงผลตรวจ RT-PCR ไม่เกิน 72
ชั่วโมง
จากนั้นสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 2 ปี
พ.ต.ท.อุดร ชาวแขก สารวัตรด่านตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร กล่าวว่า
ได้เตรียมความพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือป้องกันโควิด-19 ให้มีความพร้อม
ทางตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหารได้ติดต่อประสานงานกับจัดหางานจังหวัด
และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อจังหวัด เบื้องต้นจัดหางานจังหวัดจะมาประสานว่า
แรงงานที่จะเดินทางเข้ามาในวันนั้นมีจำนวนเท่าไหร่
เพื่อสอดคล้องกับการเตรียมการจำนวนเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ในการรองรับ
พอถึงบริเวณหน้าด่าน ก็จะมีรถเจ้าหน้าที่จังหวัดมุกดาหาร
มารอรับแรงงานและตรวจ และวัดอุณหภูมิ ทางตรวจคนเข้าเมืองก็ประทับตรา
ตม.ก็จะตรวจเช็คพาสปอร์ตว่าถูกต้องไหม และเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วนหรือไม่
ถ้าครบก็จะประทับตราอนุญาตเข้าราชอาณาจักรได้
หลังจากนั้นส่งตัวให้กับปกครอง และหน่วยงานความมั่นคง
เพื่อรับตัวไปกักตัวที่สถานที่ทางจังหวัดเตรียมไว้ ขณะนี้แรงงาน MOU
ที่แจ้งไว้มีประมาณ 17 คน
พ.ต.ท.อุดร ชาวแขก กล่าวอีกว่า
จากนั้นฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายปกครองจะนำแรงงานไปยังโรงแรมที่พักเพื่อกักตัวสังเกตอาการ
7 วัน และ มีเจ้าหน้าที่ดูตลอด 24 ชั่วโมง
ก่อนที่นายจ้างจะมารับไปทำงานในจังหวัดต่าง ๆ โดยค่าใช้ค่าใช้จ่ายแรงงาน 1
คนจะอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นบาท
ด้านนาย วิเศษ คำไพ จัดหางานจังหวัดบึงกาฬ
รักษาราชการแทนจัดหางานจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า การนำเข้าแรงงานต่างด้าว
ตามระบบ MOU ในส่วนแรงงานที่มาจาก สปป.ลาว คาดการณ์ว่าเดือนเมษายน
จะนำเข้ามาได้ ในส่วนของจังหวัดมุกดาหารโดยผุ้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อเตรียมการรองรับแรงงานที่จะเข้ามา
ซึ่งมีหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัด กระทรวงแรงงาน โดยจัดหางานจัดหวัด ทาง ตม.
และทางภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน ซึ่งอันดับแรกนั้น
แรงงานที่จะเข้ามาจะต้องเป็นแรงงานที่ได้รับวัคซีนครบโด้ส
เมื่อเข้ามาแรงงานกลุ่มนี้ต้องทำการกักตัวตามสถานที่ทางจังหวัดกำหนดไว้
ถ้าได้รับวัคซีน 2 เข็ม กักตัว 7 วัน ถ้าเข็มเดียวกักตัว 14 วัน
ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมการรองรับไว้เกือบ 100 %
นาย วิเศษ คำไพ กล่าวต่ออีกว่า ในการเข้ามาตาม MOU
ในรอบนี้เข้ามาในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19
แรงงานที่จะเข้ามาต้องผ่านระบบการกักตัวหลายขั้นตอน ก็โยงไปถึงค่าใช้จ่าย
คาดการณ์ว่าแรงงานที่จะเข้ามาระยะแรกคงไม่เยอะเท่าไหร่ ณ
วันนี้ข้อมูลนายจ้างที่ขึ้นโครงการผ่านจัดหางานประมาณ 9,000 กว่าคน
ส่วนใหญ่แจ้งความประสงค์เดินทางผ่านด่านหนองคายเป็นหลัก
ในส่วนของมุกดาหารนั้น มีประมาณหลัก 10 คน เราจะมีศูนย์แรกรับจาก สปป.ลาว
เข้ามามีอยู่ 2 ที่ คือ หนองคาย และมุกดาหาร
หลักการคิดถ้าแรงงานกลับขึ้นมาลาวเหนือ ผ่านมุกดาหารก็จะสะดวกกว่า
ถ้าลาวเหนือมาลาวกลางที่หนองคายน่าจะสะดวกกว่า แต่เนื่องจากเวลานี้
นายจ้างผู้ประกอบการ นำเข้าแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่จะคุ้นเคยที่หนองคาย
สำหรับด่านมุกดาหาร
ก็จะมีแรงงานที่ได้รับความสะดวกในการเดินทางผ่านด่านก็อาจจะมีประมาณ 20,000
คน ในจำนวนนี้อาจจะไม่มา หรืออาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้
แต่ในการเข้ามานั้นการผ่าน MOU ช่วงโควิด-19 มีการกักตัว
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การที่แรงงานจะเข้ามาพร้อมกันจำนวนมาก ๆ
ก็อาจจะยังไม่เท่าไหร่ ก็คงจะต้องทยอยมา ไม่น่าจะเข้ามาทีเดียวพร้อมกัน
สำหรับชายแดนไทย-ลาว
คาดว่าจะเปิดด่านเพื่อให้แรงงานกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยวันที่ 1 เมษายน
โดยกำหนดไว้ 2 แห่งคือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคาย และ
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร
ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจา แล
เตรียมการมาตรการรองรับภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
อย่างเข้มงวดต่อไป