ภารกิจของหน่วยงานสำนักงานจัดหางานจังหวัดพังงา
1.
การบริการจัดหางานในประเทศ
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ
มีรายได้ที่เหมาะสม รับรู้ข่าวสารตลาดแรงงานที่ทันสมัยรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาการว่างงานและการขาดแคลนแรงงาน
โดยให้บริการกับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา คนพิการ
ผู้สูงอายุ ผู้พ้นโทษ ทหารก่อนปลดประจำการ แรงงานที่อยู่บนพื้นที่สูง
ผู้ประสบภัยธรรมชาติและสาธารณภัย ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด เป็นต้น
การดำเนินงาน
- การจัดงานวันนัดพบแรงงานย่อย
เพื่ออำนวยความสะดวกให้นายจ้าง/สถานประกอบการและผู้สมัครงานได้พบและพิจารณาคัดเลือกกันโดยตรง
เพิ่มโอกาสให้ผู้สมัครงานได้คัดเลือกตำแหน่งงานที่ว่างตรงกับความรู้ความสามารถและได้สมัครงานกับนายจ้าง/สถานประกอบการจำนวนมากในคราวเดียวกัน
- การให้บริการจัดหางาน รับสมัครงาน
บรรจุงาน จัดหาตำแหน่งงานว่าง ณ หน่วยบริการของสำนักงานจัดหางานจังหวัด
- การให้บริการจัดหางานเชิงรุกให้บริการในระดับตำบล
หมู่บ้าน ชุมชน ครัวเรือน เพื่อประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานว่าง ให้บริการจัดหางาน
แนะแนวอาชีพและอบรมอาชีพเสริมให้กับประชาชนพื้นที่
- การให้บริการจัดหางานทางอินเตอร์เน็ต
โดยผู้สมัครงานสามารถค้นหาตำแหน่งงานของนายจ้าง/สถานประกอบการ
และสมัครงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของกรมการจัดหางานได้ที่ ผ่านระบบบริการประชาชน (e-Service)
- ประสานการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ
เพื่อเคลื่อนย้ายแรงงานจากจังหวัดที่มีผู้สมัครงานมากไปยังจังหวัดที่ขาดแคลนแรงงานและมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายนายจ้าง/สถานประกอบการให้ไปรับสมัครงานในจังหวัดที่มีผู้สมัครงานจำนวนมากด้วย
- การให้บริการจัดหางานแก่ผู้ประกันตนกรณีว่างงานตามพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ในส่วนที่กำหนดให้เป็นความรับผิดชอบของกรมการจัดหางาน
โดยให้บริการจัดหางานที่มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องลักษณะงาน อัตราค่าจ้าง
สภาพการจ้างงาน สวัสดิการต่างๆ
รวมทั้งการให้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่สอดคล้องกับความความต้องการของนายจ้าง/สถานประกอบการ
- การพัฒนาระบบบริการจัดหางานในประเทศ
เพื่อให้มีระบบรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันในทุกหน่วยงาน
วิธีการให้บริการจัดหางานที่ทันสมัย มีความชัดเจน โปร่งใส ไม่ซับซ้อน
และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพของงานบริการในประเทศ
- การจัดหางานให้กับกลุ่มคนพิเศษ คือ
คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้พ้นโทษ และนักเรียน นักศึกษา
เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานอย่างทั่วถึง
และได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนายจ้างโดยตรง
รวมถึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้นายจ้าง/สถานประกอบการเห็นถึงความสำคัญของการจ้างงานบุคคลดังกล่าวและรับเข้าทำงาน
โดยในส่วนของกรมการจัดหางานได้มีการจ้างเหมาคนพิการ จำนวน 86 อัตรา และ ผู้สูงอายุ
จำนวน 20 อัตรา ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ
เพื่อให้ภาครัฐเป็นหน่วยงานอย่างในการจ้างงานคนพิการและผู้สูงอายุ
ซึ่งเป็นการแสดงถึงความตั้งใจของภาครัฐที่จะให้การสนับสนุนคนพิการ ผู้สูงอายุ
ให้ได้รับสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกับผู้อื่น และเป็นแบบอย่างให้กับภาคเอกชน
2.
การแนะแนวและการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
เพื่อให้นักเรียน
นักศึกษา ประชาชนทั่วไป
ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและผู้กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานได้มีความรู้ความสามารถ
และทราบความถนัดในการประกอบอาชีพของแต่ละคน
การดำเนินงาน
- ให้บริการแนะแนวอาชีพแก่นักเรียน
นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทราบถึงโลกอาชีพ โลกการศึกษา
การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนการให้บริการทดสอบความพร้อมทางอาชีพ
เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกศึกษาต่อ หรือการเลือกประกอบอาชีพให้ตรงกับบุคลิกภาพ
ความถนัด ความรู้ความสามารถ และความต้องการของตลาดแรงงาน
ซึ่งนำไปสู่การมีงานทำอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ
ให้บริการแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ การประสานงานในเรื่องแหล่งฝึกอาชีพ
แนะนำเงินทุนภาครัฐและเอกชน เผยแพร่ข้อมูลอาชีพ รวมถึงการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพอิสระและให้ความรู้ด้านการประกอบการ
ได้แก่ การบริหารจัดการ การทำบัญชีเบื้องต้น การตลาด การคิดต้นทุนการผลิต
กำไรขาดทุน เป็นต้น เพื่อให้ผู้ว่างงานหรือผู้ที่สนใจสามารถประกอบอาชีพได้
- จัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมการมีงานทำ
โลกอาชีพ โลกการศึกษา โลกของข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวตามสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ
- ผลิตและเผยแพร่สื่อต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพ ในรูปแบบของแผ่นพับ โปสเตอร์ หนังสือข้อมูลอาชีพ CD/VCD ชุดนิทรรศการรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
- ให้บริการศูนย์ข้อมูลอาชีพ
โดยเป็นแหล่งสารสนเทศข้อมูลด้านอาชีพต่างๆ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา
ศึกษาค้นหว้าหาข้อมูลด้านอาชีพเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหรือเรียนรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเอง
รวมทั้งผู้หางานทำ ผู้ต้องการเปลี่ยนงาน
และประชาชนทั่วไปใช้ข้อมูลอาชีพดังกล่าวในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
- การจดทะเบียนกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
โดยส่งเสริมให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้มีการรวมตัวกัน เพื่อจัดตั้งกลุ่ม
ทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการรับงานและการผลิต
ส่งเสริมพัฒนาความรู้ทักษะฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน
และส่งเสริมให้กลุ่มกู้เงินกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อขยายและพัฒนาศักยภาพในการผลิต
3.
การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
เพื่อกำกับ
ดูแล การพัฒนากระบวนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ
และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนหางานและลูกจ้างที่ไปทำงานหรือฝึกงานในต่างประเทศ
รวมทั้งส่งเสริมการขยายตลาดแรงงานไทยไปต่างประเทศ
การดำเนินงาน
- บริหารและบริการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
- เป็นศูนย์ข้อมูลและทะเบียนแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
- คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ
- ส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
- ส่งเสริมการขยายตลาดแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
ทั้งนี้
การเดินทางไปทำงานในต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มี 5 วิธี
- กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง คือ
บริการที่รัฐโดยกรมการจัดหางานเป็นผู้ดำเนินการให้แก่คนที่หางานที่ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ
ซึ่งคนหางานไม่ต้องเสียค่าบริการแต่เสียค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและเท่าที่จ่ายจริง
เช่น ค่าทำหนังสือเดินทาง ค่าตรวจสุขภาพ ค่าวีซ่า ค่าภาษีสนามบิน เป็นต้น
- บริษัทจัดหางานจัดส่ง
ต้องเป็นบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน
การรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานไปทำงานต้องได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางานก่อนจึงจะประกาศรับสมัครและจัดส่งไปทำงานได้
- นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างของตนไปทำงานต่างประเทศ
นายจ้างในประเทศไทยที่มีบริษัทในเครืออยู่ในต่างประเทศ
หรือประมูลงานในต่างประเทศได้
และประสงค์จะพาลูกจ้างไปทำงานต้องขออนุญาตการเดินทางไปทำงานต่างประเทศต่อกรมการจัดหางาน
- นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างของตนไปฝึกงานในต่างประเทศ
นายจ้างต้องแจ้งการเดินทางไปฝึกงานของลูกจ้างต่อกรมการจัดหางานโดยยื่นแบบแจ้งการส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศ
- คนหางานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตัวเอง
คนหางานติดต่อไปทำงานกับนายจ้างในต่างประเทศด้วยตนเอง
หรือคนหางานที่ทำงานครบสัญญาจ้างแล้วได้ต่อสัญญาจ้าง
เมื่อเดินทางกลับมาพักผ่อนชั่วคราวในประเทศไทยและจะกลับไปทำงานอีก
ต้องแจ้งต่อกรมการจัดหางานก่อนวันเดินทาง
4.
การคุ้มครองคนหางาน
เพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้คนหางานถูกหลอกลวงจากการหางานทำ
ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทจัดหางาน/สำนักงานจัดหางาน
และบุคคลที่มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางาน
รวมถึงการใช้มาตราการทางกฎหมายเพื่อป้องกันและลงโทษผู้หลอกลวงที่เอารัดเอาเปรียบคนหางาน
การดำเนินงาน
- การพิจารณา ตรวจสอบ
คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งบริษัทจัดหาน/สำนักงานจัดหางาน
เพื่อจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศและต่างประเทศ
การต่ออายุใบอนุญาตการขอจดทะเบียนและมีบัตรประจำตัวผู้รับอนุญาต
การขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่างๆ
การขอยกเลิกหรือเพิกถอนหรือสิ้นสภาพใบอนุญาตจัดหางาน รวมถึงการตรวจสอบหลักประกัน
การหักหลักประกันและการเก็บรักษาหลักประกัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
- การรับเรื่องและวินิจฉัยคำร้องทุกข์ของคนหางานเกี่ยวกับการจัดหางานพิจารณาดำเนินการลงโทษทางทะเบียน
และดำเนินคดีทางอาญากับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
- ตรวจสอบควบคุมการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศของผู้รับอนุญาตจัดหางาน
สืบเบาะแส
ติดตามความเคลื่อนไหวและพฤติการณ์การหลอกลวงคนหางานของสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน
- ตรวจสอบเอกสารหลักฐานของคนหางานหรือลูกจ้างที่จะเดินทางไปทำงานหรือฝึกงานในต่างประเทศ
ตรวจสอบและระงับเดินทางของบุคคลที่มีพฤติการณ์จะลักลอบเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
โดยไม่ผ่านขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อให้ความคุ้มครองและป้องกันการหลอกลวงคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศและขบวนการค้ามนุษย์
- ตรวจสอบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
ตรวจสอบนายจ้าง/สถานประกอบการเพื่อให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปราบปราม
จับกุมและดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมายและขบวนการค้ามนุษย์
- พิจารณาคำขอรับเงินสินบน เงินรางวัล
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมทั้งการเบิก – จ่ายเงิน
และนำส่งเงินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานและกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว
5.
การจัดระบบการทำงานของคนต่างด้าว
เพื่อดูแล
ตรวจสอบ และควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายและเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยมากที่สุด
รวมถึงการคุบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว
การดำเนินงาน
- พิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน
ต่ออายุใบอนุญาตทำงานเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตทำงาน รับแจ้งเข้า –
ออกจากการทำงานของคนต่างด้าว
- จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว
- วางมาตรการจัดระบบเพื่อควบคุมการทำงานของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้เข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมาย
- ควบคุม ดูแล
และตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฎหมาย
- จัดระบบการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ
NGOs