นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าว mou สามารถขอคืนหลักประกัน ได้ 3 กรณี
นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าว mou สามารถขอคืนหลักประกัน ได้ 3 กรณี
1. กรณีคนต่างด้าวทำงานจนครบสัญญาจ้าง
- ให้นายจ้างยื่นแบบคำขอรับหลักประกันคืน เอกสารนายจ้าง และหลักฐานการแจ้งออก พร้อมทั้งหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เช่น สำเนาตราประทับขาออกไปนอกราชอาณาจักรในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว หรือหนังสือจากด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ยืนยันว่าคนต่างด้าวได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแล้ว
2. กรณีคนต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้าง
- ให้นายจ้างยื่นแบบคำขอรับหลักประกันคืน เอกสารนายจ้าง และหลักฐานการแจ้งออก
- หากคนต่างด้าวไปแจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำนักงานฯ จะตรวจสอบว่านายจ้างรายใหม่ได้วางหลักประกันแล้วหรือไม่
- เมื่อนายจ้างรายใหม่ได้ชำระหลักประกันแล้ว นายจ้างเดิมจึงจะได้รับหลักประกันคืน
3. กรณีคนต่างด้าวหนีนายจ้างหรือออกจากงานโดยไม่แจ้งนายจ้าง
- ให้นายจ้างยื่นแบบคำขอรับหลักประกันคืน เอกสารนายจ้าง และหลักฐานการแจ้งออก พร้อมทั้งหลักฐานการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เช่น สำเนาตราประทับขาออกไปนอกราชอาณาจักรในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว หรือหนังสือจากด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ยืนยันว่าคนต่างด้าวได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรแล้ว หรือคนต่างด้าวไปแจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และนายจ้างรายใหม่ได้วางหลักประกันแล้ว จึงจะสามารถคืนเงินหลักประกันให้กับนายจ้างรายเดิมได้
*ระยะเวลาการคืนหลักประกัน 30 วันนับแต่วันที่เอกสารครบถ้วน*
สำนักงานจัดหางานจังหวัดเพชรบุรี#################################
การเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างด้าวที่นำเข้าตาม MOU
เปลี่ยนนายจ้างได้ หากอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง โดยคนต่างด้าวใช้วิธีการแจ้งเข้าทำงาน ของคนต่างด้าว และนายจ้างแจ้งการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน (เอกสารการแจ้งสามารถดูได้ในโน้ตกลุ่ม)
เงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง
1. กรณีคนต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้างก่อนครบสัญญาจ้าง
(1) ออกจากงานเนื่องจากความผิดของนายจ้าง เช่น นายจ้างกระทำทารุณกรรม ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ให้ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตราย รวมถึงนายจ้างเลิกจ้างโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเสียชีวิต หรือล้มละลาย
(2) กรณีได้มีการชำระค่าเสียหายให้แก่นายจ้างเดิมแล้ว (ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน) ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่คนต่างด้าวชำระค่าเสียหายเองหรือนายจ้างรายใหม่หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ชำระ โดยมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่านายจ้างเดิมได้รับชำระค่าเสียหายแล้ว
2. กรณีคนต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้างเมื่อครบสัญญา MOU แรกแล้ว ( 2 ปี ) สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้โดยไม่มีเงื่อนไข
ทั้งนี้ คนต่างด้าวที่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้าง จะต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในเวลา 30 วันนับแต่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม
หากนายจ้างเดิมแจ้งออกคนต่างด้าว ด้วยสาเหตุ คนต่างด้าวลาออกและได้ชำระค่าเสียหายแล้ว ก็สามารถดำเนินการแจ้งเข้าใหม่ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 30 นับแต่ที่นายจ้างแจ้งออก
3. การแจ้งออกจากงาน นายจ้างต้องแจ้งออกคนต่างด้าวภายใน 15 วันนับจากคนต่างออกจากงาน นายจ้างไม่แจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าว มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
สำนักงานจัดหางานจังหวัดเพชรบุรี
คำถามที่เกี่ยวข้อง | Action |
---|---|
FAQ (สำหรับนายจ้าง/บริษัทนำเข้า): ระบบ e-WP (CLM) | เรียกดูข้อมูล |
ถาม-ตอบ เรื่องการขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าววสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตทำงานจะหมดอายุในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ และปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ด้วยวิธีที่แรงงานต่างด้าวไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ | เรียกดูข้อมูล |