แรงงานหลบหนีเข้าเมือง ต้องปฏิบัติอย่างไร?


1. กรณีต้องการมีแรงงานต่างด้าว : ท่านจะต้องหาแรงงานต่างด้าวด้วยตนเอง และจะต้องขอโควตาแรงงานต่างด้าวได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่/หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัด ที่สำนักงานหรือสถานประกอบการของท่านตั้งอยู่ สอบถามหรือปรึกษา โทร.1694
2. กรณีมีลูกจ้างต่างด้าว ลาว กัมพูชา ที่ยังไม่มีพาสปอร์ต และใบอนุญาตทำงานต้องทำอย่างไร
กรณีที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชาที่ยังไม่มีพาสปอร์ตนั้น นายจ้างจะต้องนำแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานที่จะสิ้นสุดในปี 2554 ซึ่งมีจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 20 มกราคม 2554 และกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ไปขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน และแจ้งความประสงค์เข้ารับการพิสูจน์สัญชาติตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 - วันที่สิ้นสุดในใบอนุญาต และเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555
กรณีที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว กัมพุชา ที่ยังไม่มีใบอนุญาตทำงานถือได้ว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง รัฐบาลยังไม่ได้เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง หากถูกตรวจพบ จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 นายจ้างมีความผิด ปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน แรงงานต่างด้าวมีความผิดจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. กรณีลูกจ้างต่างด้าว พม่า ลาว กัมพูชา อยู่ต่างจังหวัดจะต้องพิสุจน์สัญชาติได้ที่ไหน
สัญชาติพม่า สามารถยื่นแบบการขอรับการพิสูจน์สัญชาติได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่เป้นสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าว
สัญชาติกัมพูชา สามารถยื่นแบบการขอรับการพิสูจน์สัญชาติได้ที่ศูนย์บริการพิสูจน์สัญชาติ อาคารโฮมทาวน์ 5/25 ถนนพหลโยธิน 73 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ โทร.0 2532 3302-3
สัญชาติลาว จะดำเนินการพิสูจน์สัญชาติถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 กรุงเทพฯ ณ ศูนย์บริการพิสูจน์สัญชาติ อาคารโฮมทาวน์ 5/25 ถนนพหลโยธิน 73 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ โทร.0 2532 3302-3 ส่วนภูมิภาค จะมีเจ้าหน้าที่ออกไปให้บริการพิสูจน์สัญชาติ ตามจังหวัดที่กำหนด ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

(1) ต้องมาแสดงตนเพื่อรายงานตัวจัดทำทะเบียนประวัติถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือกับกรมการปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนด
(2) หากประสงค์จะทำงาน ต้องดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับการรับรองว่าไม่เป็นโรคต้องห้ามมิให้ทำงาน
(3) ขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานตามอัตราที่กำหนด
(4) ทำงานกับนายจ้างที่ได้จดทะเบียนแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าว และได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าว (ได้รับโควตา) เท่านั้น
(5) ทำงานตามประเภทงานอาชีพที่ได้รับอนุญาตตามสถานที่หรือท้องที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำงานเท่านั้น
6) ต้องมีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัวหรือที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
(7) หากออกจากงานต้องส่งคืนใบอนุญาตทำงานแก่เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ออกจากงาน
(8) ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของกฎหมายต่าง ๆ เช่น
- ต้องชำระภาษีเงินได้หากมีรายได้หลังจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วเกินกว่าปีละ 1 แสนบาท
- ต้องไม่ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังเพื่อประทุษร้ายผู้ใด
- ต้องไม่ปลอม ทำเทียมซึ่งเอกสารสิทธิ์หรือเอกสารราชการ
- ต้องไม่กระทำความผิดต่อร่างกาย ทรัพย์สินผู้อื่น
- ต้องไม่เล่นการพนัน ไม่เสพ หรือค้ายาเสพติด
- ไม่ดื่มสุราเวลาทำงาน
ติดต่อสอบถามได้ที่
(1) สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ชั้น 3 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 02 354 1762
(2) สำนักจัดหางานเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เขต 1 – 10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
(3) ศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงาน ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาปิ่นเกล้า ให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 19.00 น. โทร. 0-2433-1855 - 57

คำถามที่เกี่ยวข้อง Action