สาระสำคัญ
1.1 กลุ่มเป้าหมาย : แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) โดยมีเงื่อนไข คือ (1) ใบอนุญาตทำงานและการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่หมดอายุ (2) ถือเอกสารประจำตัว ได้แก่ หนังสือเดินทาง (Passport : PP) เอกสารเดินทาง (Travel Document : TD) เอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport : TP) หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุเหลืออยู่ในวันที่ไปยื่นขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป
1.2 ลักษณะการดำเนินการ : เป็นการดำเนินการในลักษณะเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะดำเนินการตามแนวทางนี้ ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานก่อนที่ระยะเวลาการอนุญาตทำงานเดิมจะสิ้นอายุ และกระบวนการดำเนินการให้คำนึงถึงความสะดวก ลดการใช้เอกสาร รวมทั้งมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน
1.3 การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร : ไม่เกิน 2 ปี โดยประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรต่อไป (ขออยู่ต่อ) ครั้งละไม่เกิน 1 ปี
1.4 การอนุญาตทำงาน : ไม่เกิน 2 ปี โดยแยกเป็น 2 ห้วงเวลา ดังนี้ (1) ใบอนุญาตทำงานหมดอายุก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2563 ให้อนุญาตทำงานได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 เท่ากันทุกคน (2) ใบอนุญาตทำงานหมดอายุตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ให้อนุญาตทำงานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เท่ากันทุกคน
1.5 ภายหลังวันที่ 30 กันยายน 2564 หรือวันที่ 31 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุด การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวดังกล่าวที่ดำเนินการตามแนวทางนี้ หากประสงค์จะทำงานในประเทศไทยต่อไป ต้องดำเนินการตามกระบวนการนำเข้ามาทำงานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MoU)
1.6 ระยะเวลาดำเนินการ : วันที่ 19 สิงหาคม 2562 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 หรือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินการจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งแรงงานต่างด้าวจะต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวสามารถยื่นคำขออยู่ต่อในราชอาณาจักรกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้ภายใน 90 วันทำการ ก่อนระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจะสิ้นสุด
1.7 วิธีดำเนินการ : ให้นำกระบวนการ แนวทาง วิธีการเข้ามาทำงานในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MoU) มาปรับใช้เพื่อความเหมาะสม ตามแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการที่กระทรวงแรงงานกำหนด
1.8 นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ ยื่นเอกสาร เพื่อแสดงถึงการได้รับอนุญาตทำงานและการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่สิ้นสุด ได้แก่ บัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว (Name List) สัญญาจ้าง สำเนาหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง สำเนาใบอนุญาตทำงานหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตทำงานกับหน่วยงานของกรมการจัดหางาน
1.9 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาเข้ามาทำงานในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ กำหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการทำงาน ให้ถือว่าเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ เป็นกรณีพิเศษ
1.10 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวที่นำเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศได้รับยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (1) กำหนดให้คนต่างด้าวที่ถือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลที่กระทรวงการต่างประเทศให้การรับรองและได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ เป็นคนต่างประเทศ ซึ่งผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจะนำมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือนายจ้างจะนำมาทำงานกับตนในประเทศ โดยได้รับยกเว้นให้ใช้เอกสารดังกล่าวแทนหนังสือเดินทางเพื่อขออนุญาตทำงานได้ (2) กำหนดให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี แจ้งเลขที่เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางหรือเลขที่หนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวถาม การยื่นเอกสารให้ยื่น ณ ที่ใด
ตอบ ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าว และ ดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกขั้นตอน
ตอบ ไม่ได้ หากแรงงานต่างด้าวจะเปลี่ยนนายจ้างต้องเปลี่ยนให้เรียบร้อยก่อนยื่นคำขอ ตามแนวทางการเปลี่ยนนายจ้างกรณีบัตรสีชมพู (แต่ไม่ต้องไปทำบัตรสีชมพู) ทั้งนี้ ให้ดำเนินการ ให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย เช่น แรงงานต่างด้าวต้องหานายจ้างรายใหม่ภายใน ๑๕ วัน และ แจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างภายใน ๑๕ วัน เป็นต้น แล้วจึงยื่นคำขอบัญชีรายชื่อฯ
ถาม กรณีนายจ้างนำเข้าแรงงานต่างด้าวด้วยตนเองต้องวางเงินประกันหรือไม่
ตอบ การวางเงินหลักประกันกรณีนายจ้างนำเข้าแรงงานต่างด้าวด้วยตนเอง ให้สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ – ๑๐ ตรวจสอบข้อมูลการวางเงินหลักประกันว่าครบตามจำนวนแล้วหรือไม่ หากไม่ครบให้จัดเก็บให้ครบตามจำนวน หรือจัดพิมพ์รายการชำระเงินระบุจำนวนเงินหลักประกันให้ชัดเจนเพื่อให้นายจ้างนำไปชำระเงินที่ Counter Service
ถาม การจัดทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะดำเนินการอย่างไร
ตอบ การจัดทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เป็นไปตามที่ประเทศต้นทางกำหนด ซึ่งแรงงานต่างด้าว อาจต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ให้เตือนนายจ้าง/แรงงาน ยื่นคำขออนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (RE-ENTRY PERMIT) และถ่ายเอกสารหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับเดิมไว้เป็นหลักฐาน เพราะการทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ประเทศ ต้นทางจะยึดหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับเดิมคืน ซึ่งจะไม่มีหลักฐานนำมาแสดงกับเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ถาม เริ่มดำเนินการนำเข้าแรงงานฯ โดยแรงงานไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ เมื่อใด
ตอบ การดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยแรงงานไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เท่านั้น ซึ่งบางจังหวัดอาจดำเนินการ ณ ที่ตั้งสำนักงานของแต่ละหน่วยงาน หรือบางจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จะดำเนินการ ณ ที่ตั้งสำนักงานของแต่ละหน่วยงานในห้วงเวลาแรก และดำเนินการในลักษณะศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ทั้งนี้ ตามที่ผู้ว่าราชการกำหนด ให้เน้นย้ำนายจ้าง/แรงงานต่างด้าว ให้ตรวจสอบระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และระยะเวลาการอนุญาตทำงาน โดยให้เร่งดำเนินการก่อนวันที่การอนุญาตจะหมดอายุ และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
ถาม นายจ้าง แรงงานต่างด้าวต้องแจ้งเข้าทำงานหรือไม่
ตอบ ต้องแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตฯ และแรงงานต่างด้าวแนบแบบแจ้งเข้าทำงานพร้อมกับแบบคำขออนุญาตทำงาน (ตท.๒) เพื่อเป็นการอำนวยความ สะดวกในการแจ้งเข้าทำงานของนายจ้าง/แรงงานต่างด้าว
ถาม กรณีนายจ้างหรือผู้รับอนุญาต นำบัญชีรายชื่อความต้องการแรงงานต่างด้าวไปติดต่อหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล แต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จครบตามจำนวนจะ ดำเนินการอย่างไร
ตอบ ให้นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตฯ ชี้แจงเจ้าหน้าที่ให้ระบุข้อมูลการดำเนินการไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายชื่อแรงงานต่างด้าว และถ่ายสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อไม่ต้องมาขอรับบัญชีรายชื่อ ความต้องการแรงงานต่างด้าวใหม่
สำนักงานจัดหางนจังหวัดสมุทรสงคราม
186 หมู่ 3 ถนนเอกชัย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000 กลุ่มงานส่งเสริมการมีงานทำ ติดต่อ 034-714342-3 ต่อ 106 งานควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว ติดต่อ 034-714342-3 ต่อ 103,105 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ติดต่อ 034-714342-3 ต่อ 102
สอบถามข้อมูล
skm@doe.go.th
0-3471-4342-3,0-3471-8376,034714342-3 ต่อ ,0-3471-8376