การขึ้นทะเบียนหางาน
กรณีคนหางานต้องการขึ้นทะเบียนหางานทำ สามารถฝากประวัติไว้กับสำนักงานจัดหางานจังหวัด โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. มาขึ้นทะเบียนด้วยตนเอง ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุโขทัย หรือสำนักงานจัดหางานทุกจังหวัด โดยกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนหางานให้ครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป
ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและกรอกรายละเอียดล่วงหน้าได้ [ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม]
2. เจ้าหน้าที่จัดหางานจังหวัดตรวจสอบและบันทึกข้อมูลขึ้นทะเบียนหางาน ในระบบขึ้นทะเบียนคนหางาน
พร้อมทั้งจับคู่คนหางานกับนายจ้างทันทีในกรณีที่มีตำแหน่งงานว่างตรงกับที่คนหางานสมัครขึ้นทะเบียนไว้
หากกรณีที่ยังไม่มีตำแหน่งงานว่างสำนักงานจัดหางานจังหวัดจะขึ้นทะเบียนว่างงานไว้จนกว่าจะมีตำแหน่งงานว่าง
จึงจะแจ้งให้คนหางานไปสมัครโดยตรงกับนายจ้าง/สถานประกอบการ ต่อไป
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
"สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน" เป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อ ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออกจากงาน
โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับดังกล่าว มี 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีที่ถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิดังกล่าวจะต้อง ขึ้นทะเบียนหางานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่วันว่างงานกับนายจ้างวันสุดท้าย จะได้รับประโยชน์ทดแทนครบถ้วนตามสิทธิ หากขึ้นทะเบียนหางานเกิน 30 วัน นับแต่วันว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้ายจะได้รับประโยชน์ทดแทนลดลง โดยจะได้รับสิทธิที่เหลือ นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน มีดังนี้
1. ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านระบบอินเตอร์ โดยเข้าเว็บไซต์ empui.doe.go.th
1.1 กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) พร้อมแบบหลักฐาน และลงลายมือชื่อสำเนาถูกต้อง ดังนี้
1.2.1 สำเนาบัตรประชาชน
1.2.2 สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร โดยบัญชีเงินฝากต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนเท่านั้น ธนาคารที่ใช้ได้ 9 ธนาคาร ได้แก่
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน )
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
2. นำแบบฟอร์ม สปส.2-01/7 พร้อมทั้งเอกสารแนบ นำไปส่งที่สำนักงานประกันสังคม
3. รายงานตัว ในระบบอินเตอร์เน็ตตามกำหนด หรือ มา ณ สำนักงานจัดหางานทุกจังหวัด ดังนี้
- กรณีเลิกจ้าง ไม่เกิน 6 เดือน (ไม่เกิน 180 วัน)
- กรณีลาออก ไม่เกิน 3 เดือน (ไม่เกิน 90 วัน)
บริการผู้พิการ
คนพิการ หมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฎิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป เนื่องจากมีความบกพร่องของบุคคลประกอบกันมีอุปสรรคด้านต่าง ๆ
ความพิการแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
1. ทางการเห็น
2. ทางการได้ยิน หรือสื่อความหมาย
3. ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
4. ทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรืออทิสติก
5. ทางสติปัญญา
6. ทางการเรียนรู้
ทำไมคนพิการจึงต้องทำงาน
เพื่อมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว
เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีไม่เป็นภาระผู้อื่น
เพื่อการยอมรับและยกย่องจากสังคม
วิธีการสมัครงาน
สมัครงานด้วยตนเอง
สมัครงานทางไปรษณีย์
สมัครงานทาง Internet
การเตรียมหลักฐานและเอกสารที่ใช้ในการสมัครงาน
รายละเอียดข้อมูลส่วนตัว เช่น ประวัติการศึกษาประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา (ถ้ามี)
สมุดประจำตัวคนพิการหรือบัตรประจำตัวประชาชน วุฒิการศึกษา
ทะเบียนบ้าน รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว
การดำเนินงานของกรมการจัดหางาน
ให้บริการจัดหางานแก่คนพิการ ตาม ม.20 (3) พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
รับขึ้นทะเบียนขอรับสิทธิตามมาตรา 35 ให้แก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการ
ให้บริการแก่นายจ้าง/สถานประกอบการ/หน่วยงานของรัฐในการรับแจ้งตำแหน่งงานว่างและรับแจ้งขอรับสิทธิตามมาตรา 35 ได้แก่ การให้สัมปทาน การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน และการให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ
ให้บริการจัดหางานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-services) www.doe.go.th
หน่วยงานที่ให้บริการแก่คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการ/นายจ้าง/สถานประกอบการ/หน่วยงานของรัฐ
- ส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 และศูนย์ส่งเสริมอาชีพคนพิการ
- ส่วนภูมิภาพ ได้แก่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
เอกสารหลักฐานในการขอทำบัตรนายจ้าง
สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของสถานประกอบการ หรือ ภพ.20
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการ
หนังสือมอบอำนาจ
นายจ้าง/สถานประกอบการ ได้อะไรจากการจ้างงานคนพิการ
1. ได้ให้โอกาสคนพิการได้พิสูจน์ความสามารถในการทำงานร่วมกับคนทั่วไป พึ่งพาตนเองได้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม
2. ทางการได้ยิน หรือสื่อความหมายนายจ้างที่จ้างคนพิการได้รับยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 499) พ.ศ. 2553
3. ยกเว้นภาษีให้แก่นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงานเกินกว่าร้อยละหกสิบของลูกจ้างตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับบ 519) พ.ศ. 2554
4. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่จ้างคนพิการเข้าทำงานมากกว่าร้อยละหกสิบ โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใดมีสิทธิได้รัยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละของค่าใช้จ่ายที่จ้างคนพิการในปีภาษีนั้น 5. นายจ้างที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการได้รับการลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษีร้อยละหนึ่งร้อยของจำนวนเงินค่าใช้จ่าย
5. สถานประกอบการได้รับการยกย่อง ประกาศเกียรติคุณสินเชื่อ รางวัล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่สถานประกอบการ
3 จ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
จ จ้าง >> คนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33
จ จ่าย >> เงินเข้ากองทุนส่งเสริมฯ ตามมาตรา 34
จ จัด >> สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า หรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการตามมาตรา 35
"นายจ้าง/สถานประกอบการเลือกดำเนินการ อย่างน้อย 1 จ"
หลักฐานการขึ้นทะเบียนขอรับสิทธิตาม ม.35
นายจ้างกรณีติดต่อครั้งแรกให้ยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อจัดทำบัตรนายจ้าง ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของสถานประกอบการหรือ ภพ.20
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการ
4. หนังสือมอบอำนาจ
คนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการให้ใช้หลักฐาน ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ หรืสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแลคนพิการ
2. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
คนพิการ สามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพขึ้นอยู่กับความสนใจ โอกาส และข้อจำกัดของคนพิการแต่ละบุคค ไม่ว่าจะเป็นอาชีพทีทใช้แรงงาน งานสำนักงาน งานบริการ งานอาชีพอิสระ งานศิลปหัตถกรรม ซึ่งในการประกอบอาชีพอิสระควรสำรวจตลาดก่อน เพราะเมื่อผลิตสินค้าแล้วอาจไม่มีตลาดรองรับ หรือเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่ทำอยู่จะได้รับการสนใจน้อย
การขอทำบัตรประจำตัวนายจ้าง
- กรอกรายละเอียดการขอบัตรประจำตัวนายจ้าง
สำหรับนายจ้างนิติบุคคล (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
สำหรับนายจ้างบุคคลธรรมดา (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
เตรียมเอกสารประการขอบัตรประจำตัวนายจ้าง ตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้
กรณีบุคคลธรรมดา
- บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสดมป์ 30 บาท (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
กรณีบุคคลธรรมที่ประกอบกิจการ
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา
- สำเนาใบจดทะเบียนพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์
- หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสดมป์ 30 บาท (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
กรณีนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของกระทรวงพาณิชย์ (เลข 13 หลักขึ้นต้นด้วย "0")
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
กรณีเป็นองค์กรต่าง ๆ
- สำเนาหนังสืออนุญาตจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจขององค์กร ในกรณีให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทนต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาดำเนินการแทน
- สำเนาหนังสือเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ เช่น การจดทะเบียน เป็นต้น
ขั้นตอนนายจ้างขอคัดรายชื่อ
1. นายจ้าง/สถานประกอบการ มาติดต่อขอคัดราย ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุโขทัย
2. แสดงบัตรประจำตัวนายจ้าง (หากไม่มีต้องนำหลักฐานมาขอทำบัตรนายจ้างก่อน)
3. กรอกข้อมูล/ตำแหน่งงานที่นายจ้างหรือสถานประกอบการจะขอคัดรายชื่อ
4. เจ้าหน้าที่นำแฟ้มประวัติคนงานให้นายจ้างคัด