วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / และค่านิยม

วิสัยทัศน์กรมการจัดหางาน

วิสัยทัศน์ “กำลังแรงงานมีงานทำถ้วนหน้า ทุกช่วงวัย ภายในปี 2565”

พันธกิจ

  1. ส่งเสริมการมีงานทำ โดยให้บริการจัดหางาน แนะแนวอาชีพคุ้มครองคนหางาน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้
  2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ตามภารกิจของกรมการจัดหางาน
  3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
  4. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการบริหารตลาดแรงงานสู่ความสมดุล
  5. บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว


ค่านิยม

STRONG

S = Sevice Mind : มีจิตบริการ มุ่งเน้นให้บริการประชาชนทุกช่วงวัยที่มารับบริการ

T = Team Work : การทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร

R = Response : ตอบสนองต่อทุกภารกิจที่ได้รับอย่างรวดเร็วฉับไว

O = Owner : มีจิตสำนึกในความเป็นเจ้าขององค์กร และภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

N = Network : สานสร้างเครือข่ายเพื่อการบูรณาการทั้งภายในและภายนอกองค์กร

G = Goal : เพื่อเป้าหมายคือประชาชน


วิสัยทัศน์และพันธกิจ จังหวัดชัยภูมิ

ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์หลัก ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย และกลยุทธ์แนวทางการพัฒนาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2564 ดังนี้

1. ตำแหน่งการพัฒนา (Positioning) ของจังหวัดชัยภูมิ
1.1 เป็นฐานการผลิตและศูนย์กลางสินค้าเกษตรที่เข้มแข็งและยั่งยืน
1.2 เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
1.3 เป็นเมืองแห่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี
1.4 เป็นเมืองที่สังคมมีคุณภาพมั่นคงและปลอดภัย
2. วิสัยทัศน์จังหวัดชัยภูมิ
“เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมและสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพอย่างยั่งยืน”
3. พันธกิจ
3.1 พัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจมหภาค
3.2 ส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม
3.3 อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
3.4 พัฒนาสังคม คุณภาพชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. เป้าประสงค์รวม
4.1 ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและกระจายอย่างเหมาะสม
4.2 สถานที่ท่องเที่ยวมีความสมบูรณ์และมีมาตรฐาน
4.3 การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลกับการพัฒนา
4.4 ประชาชนดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ มั่นคงและปลอดภัย
5. ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการพัฒนา (KPI)
5.1 อัตราการขยายตัวของ GPP เพิ่มขึ้น
5.2 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตร
5.3 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคอุตสาหกรรม
5.4 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว
5.5 รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้น
5.6 จำนวนชุมชนที่ดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5.7 สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ลดลง
5.8 จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
5.9 ค่าเฉลี่ย O-Net ทุกระดับเพิ่มขึ้น
5.10 ร้อยละของประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง
5.11 ร้อยละผู้อยู่ในระบบประกันสังคมต่อกำลังแรงงานเพิ่มขึ้น
5.12 อัตราการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดลดลง
5.13 สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในจังหวัดชัยภูมิเพิ่มขึ้น