ถาม-ตอบ เรื่องการขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าววสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตทำงานจะหมดอายุในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๒ และปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ด้วยวิธีที่แรงงานต่างด้าวไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ


**************************************

ถาม – ตอบ 

***************************************

๑. ถาม การยื่นเอกสารให้ยื่น ณ ที่ใด 
    ตอบ ยื่น ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานของแรงงานต่างด้าว และ ดำเนินการให้แล้วเสร็จทุกขั้นตอน 

๒. ถาม  เปลี่ยนนายจ้างตอนยื่นคำขอบัญชีรายชื่อความต้องการแรงงานต่างด้าว ได้หรือไม่ 
    ตอบ ไม่ได้ หากแรงงานต่างด้าวจะเปลี่ยนนายจ้างต้องเปลี่ยนให้เรียบร้อยก่อนยื่นค าขอ ตามแนวทางการเปลี่ยนนายจ้างกรณีบัตรสีชมพู (แต่ไม่ต้องไปท าบัตรสีชมพู) ทั้งนี้ ให้ดำเนินการ ให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย เช่น แรงงานต่างด้าวต้องหานายจ้างรายใหม่ภายใน ๑๕ วัน และ แจ้งเข้าทำงานกับนายจ้างภายใน ๑๕ วัน เป็นต้น แล้วจึงยื่นคำขอบัญชีรายชื่อฯ 

๓. ถาม  เมื่อแรงงานต่างด้าวได้รับบัญชีรายชื่อความต้องการแรงงานแล้ว เปลี่ยนนายจ้างได้ หรือไม่   
     ตอบ สามารถดำเนินการได้ โดยเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้างตาม MoU คือแรงงานต้องหา นายจ้างใหม่ให้ได้ภายใน ๓๐ วัน ภายใต้เงื่อนไข เช่น นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างล้มละลาย นายจ้างกระทำการทารุณกรรม และต้องแจ้งเข้าทำงานภายใน ๑๕ วัน เป็นต้น 

๔. ถาม กรณีนายจ้างนำเข้าแรงงานต่างด้าวด้วยตนเองต้องวางเงินประกันหรือไม่ 
     ตอบ การวางเงินหลักประกันกรณีนายจ้างน าเข้าแรงงานต่างด้าวด้วยตนเอง ให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ๑ – ๑๐ ตรวจสอบข้อมูลการวางเงิน หลักประกันว่าครบตามจำนวนแล้วหรือไม่ หากไม่ครบให้จัดเก็บให้ครบตามจำนวน หรือจัดพิมพ์ รายการช าระเงินระบุจำนวนเงินหลักประกันให้ชัดเจนเพื่อให้นายจ้างนำไปชำระเงินที่ Counter Service  

๕. ถาม การจัดทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะดำเนินการอย่างไร 
     ตอบ การจัดทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เป็นไปตามที่ประเทศต้นทางกำหนด ซึ่งแรงงานต่างด้าว อาจต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ให้เตือนนายจ้าง/แรงงาน ยื่นคำขออนุญาตกลับเข้ามา ในราชอาณาจักรอีก (RE-ENTRY PERMIT) และถ่ายเอกสารหนังสือเดินทางหรือเอกสาร ใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับเดิมไว้เป็นหลักฐาน เพราะการทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ประเทศ ต้นทางจะยึดหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับเดิมคืน ซึ่งจะไม่มีหลักฐาน นำมาแสดงกับเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง

๖. ถาม เริ่มดำเนินการนำเข้าแรงงานฯ โดยแรงงานไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ เมื่อใด 
     ตอบ การดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าว โดยแรงงานไม่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ ให้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เท่านั้น ซึ่งบางจังหวัดอาจ ดำเนินการ ณ ที่ตั้งสำนักงานของแต่ละหน่วยงาน หรือบางจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จะดำเนินการ ณ ที่ตั้งสำนักงานของแต่ละหน่วยงานในห้วงเวลาแรก และดำเนินการในลักษณะ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ทั้งนี้ ตามที่ผู้ว่าราชการกำหนด ให้เน้นย้ำนายจ้าง/แรงงานต่างด้าวให้ตรวจสอบระยะเวลา การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และระยะเวลาการอนุญาตทำงาน โดยให้เร่งดำเนินการ ก่อนวันที่การอนุญาตจะหมดอายุ และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ 


๗. ถาม นายจ้าง แรงงานต่างด้าวต้องแจ้งเข้าทำงานหรือไม่  
     ตอบ ต้องแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตฯ และแรงงานต่างด้าว แนบแบบแจ้งเข้าทำงานพร้อมกับแบบคำขออนุญาตทำงาน (ตท.๒) เพื่อเป็นการอำนวยความ สะดวกในการแจ้งเข้าทำงานของนายจ้าง แรงงานต่างด้าว  

๘. ถาม กรณีนายจ้างหรือผู้รับอนุญาต นำบัญชีรายชื่อความต้องการแรงงานต่างด้าวไปติดต่อ หน่วยงาน
          ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล แต่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จครบตามจำนวนจะ ดำเนินการอย่างไร          ตอบ ให้นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตฯ ชี้แจงเจ้าหน้าที่ให้ระบุข้อมูลการดำเนินการไว้ในบัญชี รายชื่อท้ายชื่อแรงงานต่างด้าว และถ่ายสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อไม่ต้องมาขอรับบัญชีรายชื่อ ความต้องการแรงงานต่างด้าวใหม่

*******************************

คำถามที่เกี่ยวข้อง Action
FAQ (สำหรับนายจ้าง/บริษัทนำเข้า): ระบบ e-WP (CLM) เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการคัดลอกรายชื่อผู้สมัครงาน ที่ได้ลงทะเบียนหางานกับทางสำนักงานฯ ไว้ ต้องทำอย่างไรบ้าง? เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการดูตำแหน่งงานว่างผ่านทางออนไลน์ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์อะไร? เรียกดูข้อมูล
รายชื่อองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย เรียกดูข้อมูล
คู่มือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรียกดูข้อมูล
FAQ (สำหรับนายจ้าง/บริษัทนำเข้า): ระบบ e-WP (CLM) เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการคัดลอกรายชื่อผู้สมัครงาน ที่ได้ลงทะเบียนหางานกับทางสำนักงานฯ ไว้ ต้องทำอย่างไรบ้าง? เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการดูตำแหน่งงานว่างผ่านทางออนไลน์ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์อะไร? เรียกดูข้อมูล
รายชื่อองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย เรียกดูข้อมูล
คู่มือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรียกดูข้อมูล
FAQ (สำหรับนายจ้าง/บริษัทนำเข้า): ระบบ e-WP (CLM) เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการคัดลอกรายชื่อผู้สมัครงาน ที่ได้ลงทะเบียนหางานกับทางสำนักงานฯ ไว้ ต้องทำอย่างไรบ้าง? เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการดูตำแหน่งงานว่างผ่านทางออนไลน์ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์อะไร? เรียกดูข้อมูล
รายชื่อองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย เรียกดูข้อมูล
คู่มือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรียกดูข้อมูล
FAQ (สำหรับนายจ้าง/บริษัทนำเข้า): ระบบ e-WP (CLM) เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการคัดลอกรายชื่อผู้สมัครงาน ที่ได้ลงทะเบียนหางานกับทางสำนักงานฯ ไว้ ต้องทำอย่างไรบ้าง? เรียกดูข้อมูล
ถ้าต้องการดูตำแหน่งงานว่างผ่านทางออนไลน์ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์อะไร? เรียกดูข้อมูล
รายชื่อองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย เรียกดูข้อมูล
คู่มือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรียกดูข้อมูล
 1 2 >