สืบเนื่องจากในอดีต การให้การศึกษาอบรมด้านแรงงานจากสถาบัน มูลนิธิ และองค์การต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นไปโดยอิสระและไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ในการดูแลและประสานงานให้ความช่วยเหลือที่เป็นประโยชน์และถูกต้องแก่ผู้ใช้แรงงาน และประเทศชาติอย่างแท้จริง
กระทรวงมหาดไทย จึงได้นำเสนอเรื่อง "หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประสานงาน ความช่วยเหลือด้านการศึกษา อบรมแรงงาน" ซึ่งจัดทำโดยสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2523
คณะรัฐมนตรี ได้ประชุมพิจารณาและมีมติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2523 ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติร่วมกับกระทรวงมหาดไทยพิจารณากำหนดแนวทางและพิจารณาในการรับความช่วยเหลือเกี่ยวกับ การให้การศึกษาอบรมแรงงานจากองค์การแรงงานเอกชนต่างประเทศอีกครั้ง
นายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) เห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอให้จัดตั้งองค์กรกลางในรูปของคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและหลักการในการควบคุมการแทรกแซงรับความช่วยเหลือ การให้การศึกษาอบรมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตลอดจนกำหนดมาตรการควบคุมการดูแลการปฏิบัติต่าง ๆ ขององค์การดังกล่าว และมีคำสั่งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2523 ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในคณะกรรมการที่จะแต่งตั้งขึ้น
กระทรวงมหาดไทย จึงอาศัยคำสั่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2523 ออกคำสั่งที่ 129/2524 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2524 แต่งตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การต่างประเทศ" โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองวิชาการและวางแผน กรมแรงงาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงาน ขององค์การต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
ประการแรก มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและหลักการในการควบคุมการแทรกแซงการให้ความช่วยเหลือและการอนุญาตเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ตลอดจนติดตามควบคุมดูแลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ขององค์การดังกล่าวด้วย และให้รับผิดชอบไปถึง การดำเนินการขององค์การเอกชนต่างประเทศต่อกลุ่มพลังอื่น ๆ
ประการที่สอง มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และหรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานนี้ได้ตามความจำเป็น
คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การต่างประเทศ ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกันพิจารณากำหนดนโยบายและหลักการในการควบคุมการแทรกแซงการให้ความช่วยเหลือ และการอนุญาตเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้
ปัจจุบัน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศต่อจากกระทรวงมหาดไทย โดยในระยะแรกการดำเนินงานของคณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2535 มาโดยตลอด
คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ในประเทศไทย พ.ศ. 2535 และกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทยและการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ในปัจจุบัน ขึ้นใช้จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
สาระสำคัญของระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยการเข้ามาดำเนินงานของ องค์การเอกชนต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2541 สรุปได้ดังนี้
คณะกรรมการพิจารณาการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือรองปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมผู้ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมวิเทศสหการ ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้แทนกรมประชาสงเคราะห์ ผู้แทนกรมการศาสนา ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนสำนักงานตำรวจสันติบาล และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการ ผู้แทนกรมการจัดหางานเป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน ซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้งไม่เกินสองคน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ได้แก่
การพิจารณาอนุญาตของคณะกรรมการ ในกรณีต่าง ๆ นั้น ยังจะต้องคำนึงถึง :
องค์การเอกชนต่างประเทศ หมายความถึง สถาบัน องค์การ สมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคล หรือ กลุ่มบุคคลต่างประเทศที่เป็น เอกชน หรือได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ
การดำเนินงาน หมายถึง การขอจัดตั้งสำนักงานหรือดำเนินกิจกรรมให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนไม่ว่าในรูปของการให้การ สนับสนุนทางการเงิน การจัดประชุมสัมมนา นิทรรศการ การบริจาค การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ วิชาการและเทคโนโลยีหรือ การช่วยเหลือสนับสนุนอื่นใดแก่ บุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล และหรือส่วนราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย หรือประเทศอื่นในภูมิภาคนี้
สำนักงานภูมิภาค หมายความว่า สำนักงานขององค์การเอกชน ต่างประเทศหรือสำนักงานสาขาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนแก่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล และหรือส่วนราชการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย หรือประเทศอื่นในภูมิภาคนี้
คุณสมบัติขององค์การเอกชนต่างประเทศที่จะเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย มีดังนี้
การขออนุญาตเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย องค์การเอกชนต่างประเทศจะต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการพิจารณา การดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศในกรณีต่าง ๆ ดังนี้
หน้าที่ขององค์การเอกชนต่างประเทศ เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานจากคณะกรรมการ ตามระเบียบนี้แล้ว จะต้องปฏิบัติดังนี้
การขอขยายระยะเวลาการดำเนินงาน องค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตประสงค์ จะขอขยายระยะเวลาการดำเนินงาน จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อคณะกรรมการ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน เมื่อได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้ว ให้ดำเนินงานต่อไปได้จนกว่า คณะกรรมการ จะสั่งไม่อนุญาต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาของคณะกรรมการและข้อปฏิบัติขององค์การเอกชนต่างประเทศ
ข้อพึงปฏิบัติเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว
การอุทธรณ์ ในกรณีที่คณะกรรมการไม่อนุญาตให้องค์การเอกชนต่างประเทศเข้ามาดำเนินงานไม่อนุญาตให้จัดตั้งสำนักงานและหรือสำนักงานสาขาหรือ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตองค์การเอกชนต่างประเทศผู้ขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ แจ้งการไม่อนุญาตจากคณะกรรมการ และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีถือเป็นที่สุด
การทำงานของคนต่างด้าว สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานให้กับองค์การเอกชนต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการ ต้องได้รับใบอนุญาตทำงานตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ก่อนจึงจะทำงานได้
มาตรการควบคุม มีดังนี้
ปัจจุบันการดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ (NGOs) ซึ่งได้แก่ องค์การเอกชนต่างประเทศ (รวมถึงองค์การเอกชนไทยที่ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินหรืออื่น ๆ จากองค์การเอกชนต่างประเทศ) และองค์การเอกชนไทยต่างมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวต่อกรณีปัญหาต่าง ๆ ของสังคม และให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการพัฒนาประเทศทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยดำเนินงานเพื่อการลดปัญหาสังคมต่าง ๆ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านการศึกษา และความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสในสังคม เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่อาจมีพฤติการณ์แอบแฝงในการสนับสนุน ชี้นำ และ/หรือให้คำปรึกษา ในกรณีปัญหาต่าง ๆ ก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือการเรียกร้องระหว่างประชาชนกับรัฐบาล อาทิ ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาแรงงาน ปัญหา สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ บางกรณีมีการเคลื่อนไหวเข้าไป เกี่ยวข้องกับกิจการภายในประเทศของประเทศอื่น ๆ ถึงแม้ว่าความเคลื่อนไหวนั้น จะสอดรับกับกระแสสังคมของโลกก็ตาม แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในบางกรณีองค์การเหล่านี้อาจมีพฤติการณ์แอบแฝงเพื่อกระทำการอันขัดต่อศีลธรรม อันดีของสังคม และ/หรือใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำการใด ๆ อันอาจจะเป็นการเสื่อมเสีย ชื่อเสียง ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศได้ ดังนั้น การกำหนดนโยบายและ/หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่รัฐบาลจะสามารถกำกับ ดูแลการดำเนินงานขององค์การเอกชน (Non – Government Organizations) เพื่อให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีระบบเหมาะสม และนำมาซึ่งความมั่นคงปลอดภัย ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศตลอดจนประโยชน์สูงสุดอันจะเกิดแก่ประชาชน และความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ