การรับงานไปทำที่บ้าน |
![]() |
|
![]() |
ลักษณะและประเภทของการรับงานไปทำที่บ้านเป็นงานที่ไม่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการผลิตหรือผลิตทั้งหมด ลักษณะงานที่ส่งให้ทำเป็นงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย เป็นงานที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มักใช้แรงงานคนทำการผลิตมากกว่าใช้เครื่องจักร ประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน มีทั้งประเภทงานที่ผลิตหรือประกอบขึ้น เพื่อใช้ภายในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก เช่น กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด วิกผม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น |
![]() |
ส่วนใหญ่นับเป็นรายได้เสริมของครอบครัว รายได้จะขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้รับงานกับผู้ว่าจ้าง
ปัจจุบันการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน |
![]() |
เพื่อเป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความยั่งยืน กว้างขวาง และครอบคลุมทุกจังหวัด กรมการจัดหางานจึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรมการจัดหางาน ว่าด้วยการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และง่ายต่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยให้จัดหางานจังหวัดหรือผู้อำนวยการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่ดังนี้ 1) จดทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้านในท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ 2) ให้คำปรึกษาและแนะนำต่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน 3) ส่งเสริมและพัฒนาการเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 4) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะอาชีพของผู้รับงานไปทำที่บ้าน 5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน 6) ติดตามประเมินผลเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน |
![]() |
การจดทะเบียนเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านประการหนึ่ง
ในการเสริมสร้างผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เข้มแข็ง สร้างความมั่นคงในการทำงาน
เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อประโยชน์ในการรับงานไปทำที่บ้าน และสะดวกต่อการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ทักษะฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ในการจดทะเบียนนี้ นายทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้านแห่งท้องที่เป็นผู้รับจดระเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้าน ตามระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2560 |
คุณสมบัติของผู้รับงานไปทำที่บ้าน |
1) กรณีผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นรายบุคคล (ก) มีสัญชาติไทย (ข) มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป (ค) มีสถานที่ที่รับงานไปทำที่บ้านเป็นหลักแหล่ง 2) กรณีผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นกลุ่มบุคคล (ก) มีสมาชิกกลุ่มที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 1 (ก) และ (ข) ไม่น้อยกว่าห้าคน โดยให้เลือกสมาชิกหนึ่งคนเป็นผู้นำกลุ่ม (ข) สมาชิกกลุ่มบุคคลจะต้องไม่เป็นผู้รับงานไปทำที่บ้านอื่น (ค) มีสถานที่ที่รับงานไปทำที่บ้านเป็นหลักแหล่ง |
![]() |
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน |
![]() |
ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ประสงค์จะขอจดทะเบียน ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 แห่งท้องที่ที่สถานที่รับงานไปทำที่บ้านตั้งอยู่ หรือติดต่อสอบถามได้ที่กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โทรศัพท์ 0-2245-1317 |