อำนาจหน้าที่

การบริหารงาน

กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมีการบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย

1. อธิบดีกรมการจัดหางาน ประธาน

2. ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรรมการ

3. ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ

4. ผู้แทนกรมการจัดหางาน กรรมการ

5. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย กรรมการ

6. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน กรรมการ

7. ผู้บริหารกองทุนฯ (ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีงานทำ) กรรมการและเลขานุการ


โดยคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. กำหนดนโยบาย กำกับดูแลการบริหารจัดการและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

2. กำหนดข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ ตลอดจนการกำหนดค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการต่าง ๆ
ของผู้บริหารกองทุน พนักงาน และลูกจ้างให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่คณะกรรมการนโนบายการบริหารทุนหมุนเวียนกำหนด

3. พิจารณาจัดสรรเงินและอนุมัติเงินให้กู้ยืม

4. พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปี

5. แต่งตั้งผู้บริหารกองทุน


คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำร้องขอกู้ยืมเงิน
กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ประกอบด้วย

1. รองอธิบดีหรือผู้ตรวจราชการกรมที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการ

แทนอธิบดีเกี่ยวกับงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของกองส่งเสริมการมีงานทำ ประธานอนุกรรมการ

2. เลขานุการกรม อนุกรรมการ

3. ผู้แทนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อนุกรรมการ

4. ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีงานทำ อนุกรรมการและเลขานุการ

5. หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมผู้รับงานไปทำที่บ้าน กองส่งเสริมการมีงานทำ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. พิจารณากลั่นกรองคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อพิจารณาอนุมัติ

2. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมอบหมาย